ขอแสดงความยินดีกับชุมชน ผู้ร่วมวิจัย และคณะทีมวิจัยของเรา สำหรับข่าวที่ยอดเยี่ยมระดับโลกสำหรับการป้องกันการติดเชื้อ เอช ไอ วี


เรื่องราวของเรา

เราสนับสนุนชาย กะเทย สาวประเภทสอง และหญิงข้ามเพศ ที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย ผ่านทางการวิจัยทางคลินิก การให้บริการการปรึกษาและตรวจโดยสมัครใจ และการมีส่วนร่วมของชุมชน


บริการของเรา

เราให้บริการตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีแบบทราบผลไว (40-60 นาที) การปรึกษาเฉพาะบุคคล การตรวจและรักษาการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการกินยาก่อนสัมผัสเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (PrEP/เพร็พ)



การวิจัยของเรา

เรากำลังดำเนินการวิจัยชิ้นสำคัญที่อาจเปลี่ยนอนาคตของการป้องกันเอชไอวีในประเทศไทยและโลก
การวิจัยของเราเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน our community
การวิจัยที่แล้วมาที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด:






เลือกหนทางให้ชีวิตของคุณ



HPTN083



HPTN-083 เป็นการวิจัยระดับนานาชาติ 44 แห่งทั่วโลก เพื่อดูประสิทธิผลของยาเพร็พแบบฉีดที่ออกฤทธิ์นาน เปรียบเทียบกับยาเพร็พแบบกิน ในชายและสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย จำนวน 177 คน


COPE4YMSM



COPE4YMSM เป็นการวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของยาเพร็พแบบกินทุกวันระหว่าง “ช่วงกิน" และ “ช่วงหยุด” ในกลุ่มชายและสาวประเภทสองวัยรุ่นที่มีประสบการณ์ให้บริการทางเพศแก่ผู้ชาย


Zoli



“Zoliflodacin Study” เป็นการศึกษาผลิตภัณฑ์วิจัยโซลิโฟลดาซิน ชนิดรับประทาน เพื่อประเมินประสิทธิผล ความปลอดภัย และความทนต่อยา เปรียบเทียบการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วยโรคหนองในที่ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์ชนิดที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน (ในกลุ่มเพศชายโดยกำเนิด สำหรับการเข้าร่วมที่คลินิกชุมชนสีลม)


TGWSM



“TGWSM Study” การศึกษาวิจัยการใช้ฮอร์โมนสตรีและผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของเยื่อบุทวารหนักในกลุ่มสาวประเภทสอง เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อมทางชีววิทยาของเยื่อบุทางทวารหนัก ต่อมาตรการในการป้องกันเชื้อ HIV


ที่ตั้งของเรา


เราตั้งอยู่ที่ ชั้น 12 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์ เวลา 15.00 – 20.00 น.
โทรศัพท์: 02-644-6290 │ โทรสาร: 02-644-6295
Facebook: https://www.facebook.com/SilomCommunityClinic

โทรศัพท์หาเราเพื่อจองนัดล่วงหน้า


View Larger Map


ข่าวของเรา

ตำแหน่งงาน กุมภาพันธ์ 2564
ทั่วโลกร่วมยินดี ผลการวิจัยพบว่า ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ผลดีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสอง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – โครงการศึกษาวิจัยทางคลินิกขนาดใหญ่ของเครือข่ายการวิจัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV Prevention Trial Network; HPTN) ในโครงการ HPTN 083 ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินประสิทธิผลของยาต้านไวรัสคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ระยะยาวในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึงสองเดือน และจะต้องทำการฉีดยาทุก ๆ 8 สัปดาห์ การศึกษานี้ทำการประเมินว่ายาต้านไวรัสคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เมื่อเทียบกับ วิธีการกินยาต้านไวรัส ทีดีเอฟ/เอฟทีซี (TDF/FTC) ซึ่งประกอบด้วยยาต้านไวรัสสองชนิด ได้แก่ ยาเอ็มทริซิทาบีนและยาทีโนโฟเวียร์ ไดโซพรอกซิล ฟูมาเรต วันละ 1 เม็ด หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ยาต้านไวรัสป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือเพร็พ (PrEP) หรือไม่ โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) สหรัฐอเมริกา ภายใต้เครือข่ายการวิจัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HPTN) โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าร่วมโครงการวิจัยที่สำคัญนี้ทั้งสิ้น 4,570 คน จากสถานที่วิจัยกว่า 43 แห่งใน 7 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล เปรู แอฟริกาใต้ ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

ข้อมูลเบื้องต้นที่มีการแถลงเป็นข่าวดังไปทั่วโลกในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 พบการติดเชื้อเอชไอวีใหม่ในกลุ่มยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซี วันละครั้ง มากกว่าในกลุ่มยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว 3 เท่า โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในโครงการรวม 50 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อฯ ในกลุ่มยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซีจำนวน 38 ราย (คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อใหม่ 1.21%) และพบผู้ติดเชื้อฯ ในกลุ่มฉีดยาคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว จำนวน 12 ราย (คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อใหม่ 0.38%)

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว จึงถือได้ว่าทั้งยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ระยะยาว และยากินยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซี มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้สูงมาก และยังมีความปลอดภัยที่ดีเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ชนิดฉีดออกฤทธิ์ระยะยาวสามารถฉีดทุก 8 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับยากินทีดีเอฟ/เอฟทีซี ชนิดเม็ดที่ต้องกินทุกวัน จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าการกินยาทุกวันเป็นเรื่องยาก หรือมักจะลืมกินยา หรือผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากยา จึงนับว่าเป็นทางเลือกใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอชไอวีและเอดส์ในประเทศไทยให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573

สำหรับประเทศไทย มีสถานที่วิจัย 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย, คลินิกชุมชนสีลม และ คลินิกพิมาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมวิจัยในโครงการ HPTN 083 โดยได้รับอาสาสมัครชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เข้าร่วมโครงการรวม 553 คน จากจำนวนทั้งหมด 4,570 คนทั่วไป ซึ่งจะมีการแจ้งรายละเอียดและผลวิจัยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทราบต่อไป

ในการนี้ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกล่าวแสดงความยินดีว่า “นับเป็นความก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่งที่ประเทศไทยได้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการศึกษาวิจัยเพื่อหาวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม นับตั้งแต่โครงการป้องกันการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกด้วยยาต้านไวรัส โครงการวัคซีนป้องกันเอชไอวี RV144 โครงการ HPTN 052 โครงการ iPrEx จนมาถึงโครงการ HPTN 083 ในวันนี้ ขอแสดงความชื่นชมและขอบคุณอย่างยิ่ง ในความเสียสละ ความทุ่มเท และความร่วมมือร่วมใจ ของอาสาสมัครชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและสาวประเภทสองชาวไทยทุกท่าน รวมถึงทีมนักวิจัยไทยและสหรัฐอเมริกาจากสถาบันวิจัยชั้นนำของประเทศไทยทั้ง 3 แห่ง ที่มีส่วนร่วมในการศึกษาพัฒนาทางเลือกใหม่ในการป้องกันเอชไอวีด้วยยาฉีดคาโบทิกราเวียร์ให้ประชาชนทั่วโลกรวมทั้งชาวไทย จากนี้ พวกเรายังคงต้องทำงานหนักกันต่อไปในอนาคต เพื่อเพิ่มทางเลือกในการป้องกันเอชไอวี โดยผู้ที่มีความเสี่ยงสามารถเลือกใช้ยาฉีดหรือยากิน หรือวิธีการป้องกันอื่นๆ ตามความถนัดหรือความชอบที่เหมาะสมกับแต่ละคน ซึ่งปัจจุบันคนไทยสามารถเข้าถึงยากินได้แล้ว และน่าจะสามารถเข้าถึงยาฉีดตัวใหม่นี้ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งนี้ จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่เป้าหมายการยุติปัญหาเอชไอวีในปี พ.ศ. 2573 หรือ ค.ศ. 2030 ในที่สุด”

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
• นพ. ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ หัวหน้าทีมวิจัยร่วม คลินิกชุมชนสีลม นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข taweesap@rocketmail.com
• พญ. นิตยา ภานุภาค หัวหน้าทีมวิจัย ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย nittaya.p@ihri.org
• ศ.นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ หัวหน้าทีมวิจัย คลินิกพิมาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ suwat@rihes.org
• พญ. ไอลีน เอฟ ดันน์ หัวหน้าทีมวิจัยร่วม คลินิกชุมชนสีลม กองป้องกันโรคเอดส์ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ dde9@cdc.gov
• รายละเอียดผลการศึกษา https://bit.ly/2ZfQrDy



โครงการศึกษาวิจัย COPE4YMSM กำลังจะหยุดการติดตามผู้เข้าร่วมวิจัยภายในเดือนสิงหาคม 2563 นี้
หากคุณเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยในโครงการฯ ที่ยังไม่ได้มาตามนัดหมายวิจัยเพื่อออกจากโครงการฯ หรือหากคุณมีข้อสงสัย กรุณาติดต่อผู้ประสานงานประจำสถานที่วิจัยของคุณ เพื่อทำการนัดหมายต่อไป

คลินิกชุมชนสีลม: คุณลูกเกด เบอร์ 092-254-7976

ศูนย์สุขภาพฟ้าสีรุ้ง: คุณพฤกษ์ เบอร์ 094-930-9935

บ้านสุขภาพสวิง กรุงเทพฯ: คุณอ๊อฟ เบอร์ 082-090-4158

บ้านสุขภาพสวิง พัทยา: คุณนิกกี้ เบอร์ 095-054-4547


ชุมชนของเรา

“ด้วยความร่วมมือนี้ ทางชุมชนได้เรียนรู้และเพิ่มพูนศักยภาพในการดูแลตนเอง”
และศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีเป็นอย่างมาก”

คุณกิตตินันท์ ธรมธัช (แดนนี่), ประธานคณะที่ปรึกษาชุมชนผู้มีความหลากหลายทางเพศ (M-CAB)



ทำงานร่วมกันเพื่อชุมชนที่เข้มแข็งของเรา


The Emory-CDC HIV/AIDS Clinical Trials Unit

คณะที่ปรึกษาชุมชนชายที่มีความหลากหลายทางเพศ

@tom actz Magazine

Asia Pacific Coalition of Male Sexual Health

Bangkok Health Hub

Blued Application

Buddy Station : Trans & Gay Community

ICK Club

Miss lady boys Website

NAB Club / Pattaya

Prism Digital Magazine

Sathorn International Clinic/Silom Pulse Clinic

Telephone Pub / Silom Soi 4

Test BKK.org

The Poz Home Center

กองควบคุมโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คลินิกรักษ์เพื่อน สำนักการแพทย์ กทม.

เดอะบีช กรุ๊ป

นสพ.บางกอกทูเดย์

นิตยสารบางกอกดีไซเอ่อร์ (Bangkok Desire)

มูลนิธิ AIDS Healthcare Foundation

มูลนิธิ HIV Foundation/Asia

มูลนิธิซิสเตอร์และคณะทำงานเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย (Thai TGA)

มูลนิธิเพื่อเครือข่ายฟ้าสีม่วง

มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ

มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (FAR)

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนานโยบาย

โรงน้ำชา (TEA Group)

โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร (AFRIMS)

สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย

สมาคมวางแผนครอบครัวแห่งประเทศไทย (PPAT)

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาการศึกษาวิจัยในคน กระทรวงสาธารณสุข

สำนักระบาด กรมควบคุมโรค

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สำนักโรคเอดส์ฯ กรมควบคุมโรค

หนังสือวารสารไทเพื่อน

องค์กรบางกอกเรนโบว์/span>

องค์การ FHI 360




สถานที่ตรวจเอชไอวีสถานที่อื่นที่ให้บริการอย่างเป็นมิตรกับ MSM และ TGW




ข้อมูลส่วนตัวของฉันจะถูกเก็บเป็นความลับที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดใช่ไหม?

ฉันขอรับการรักษาการติดเชื้อเอชไอวีที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้หรือไม่?

คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดสามารถออกเอกสารแสดงผลการตรวจเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพื่อใช้สมัครงาน ทำประกัน หรือในการอื่น ได้หรือไม่?

ฉันควรมารับการตรวจเอชไอวีที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดบ่อยแค่ไหน?

คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดตรวจหาการติดเชื้อเอชไอวีอย่างไรและมันทำงานอย่างไร?

ผู้หญิงมารับการตรวจที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้หรือไม่?

ชาวต่างชาติมารับการตรวจที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้หรือไม่?

ฉันอายุน้อยกว่า 18 ปี ฉันมารับการตรวจที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้หรือไม่? ฉันต้องบอกผู้ปกครองหรือไม่?

ฉันต้องแสดงบัตรประชาชน/หนังสือเดินทางเพื่อลงทะเบียนที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดหรือไม่?

มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างในการรับการตรวจเอชไอวี/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

การมารับการตรวจที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดใช้เวลานานเท่าใด?

ฉันต้องทำอย่างไรบ้างในการมารับบริการที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

ฉันสามารถกินอาหารและดื่มน้ำก่อนมารับการตรวจเลือดที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้หรือไม่?

ฉันมีความเสี่ยงมาเมื่อวานและฉันเชื่อว่าฉันมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ฉันสามารถมารับการตรวจเอชไอวีที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดในวันนี้เลยได้หรือไม่?

ฉันควรมารับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เมื่อใด

ฉันสามารถรับการตรวจเอชไอวีได้ที่ใดบ้างในประเทศไทย?


เพร็พ/PrEP คืออะไร?

ฉันต้องจ่ายเท่าไหร่สำหรับการรับเพร็พ/PrEP ที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

ันต้องทำอย่างไรบ้างในการกินยาเพร็พที่รับจากคลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

ต้องตรวจอะไรบ้างก่อนเริ่มเพร็พ/PrEP ที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

ถ้าฉันไม่สามารถกินยาเพร็พที่รับจากคลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้ตามที่แนะนำ?

ฉันจะรับเพร็พที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดได้อย่างไร?

บริการเพร็พที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดเป็นแบบนิรนามหรือไม่?

ใครตัดสินใจว่าฉันควรกินเพร็พที่คลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?

ฉันต้องกินเพร็พที่รับจากคลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดเป็นเวลานานเท่าได?

ฉันจะเก็บเพร็พที่รับจากคลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมดอย่างไร?

วิธีใดอะไรบ้างที่จะช่วยคุณได้ในการกินเพร็พที่รับจากคลินิกชุมชนสีลม @ทรอปเมด?